การฝึกซ้อมและออกกำลังกายไก่ชน


การฝึกซ้อมและออกกำลังกายไก่ชน
    
  

 การซ้อมไก่ต้องให้โอกาสไก่ การปล้ำไก่และซ้อมไก่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งบางครั้งต้องให้โอกาสไก่ด้วยไม่ใช่ว่าซ้อมไม่เก่งแล้วก็ปล่อยทิ้งไม่ทำการซ้อมติดต่อกันการซ้อมจะต้องซ้อมถึง 5 ครั้งแล้วสังเกตดูลีลาว่าลีลาชั้นเชิงเป็นอย่างไรเพราะไก่ไม่เหมือนนักมวยตรงที่ว่าไก่จะตีตามความถนัดของตน การซ้อมแต่ละครั้งไม่ใช่ว่าท่านตั้งหน้าตั้งตาซ้อมอย่างเดียว ต้องเอาใจใส่ดูแลรักษาเป็นอย่างดีต้องมีความสมบูรณ์ ไก่ที่มีความสมบูรณ์และสมบูรณ์ดีพอทำการซ้อมครบ 5ครั้งไม่มีอะไรดีขึ้นไม่มีการพัฒนาขึ้นมาท่านก็ควรพิจารณา
การฝึกไก่ชนตามชั้นเชิง ไก่ชนแต่ละซุ้มที่เลี้ยงกันอยู่นั้นปัจจุบันมีมากมายหลายเชิงหลายลีลาบางชั้นเชิงดีลีลาสวยแต่ตีไก่ไม่เจ็บ บางตัวไม่สวยชั้นเชิงไม่มากแต่ตีไก่เจ็บ ตีหนัก ทำให้คู่ต่อสู้ออกอาการ ฉะนั้นการฝึกไก่เราต้องฝึกให้ไก่เคยชินกับเชิงของมันเสียก่อน เช่น ไก่ชนที่มีเชิงขี่ทับล็อคคอ เราต้องหาคู่ซ้อมที่เรียกว่าครูฝึก ไก่ที่จะเป็นครูฝึกต้องเป็นไก่เชิงลายหัวหรือลงให้เตี้ยกว่าตัวขี่ เมื่อเราเอามาทำการฝึก ตัวขี่ล็อคคอมันจะเคยชิน ต้องซ้อมนวมหรือลงนวมแล้วไก่ตัวเชิงดีมันจะเคยชินกับชั้นเชิงของมันถ้าเราเอาที่ตัวชั้นเชิงเหมือนกันมาฝึกไม่ตัวใดตัวหนึ่งต้องสียเชิง พูดง่ายๆว่าเสียไก่ไปหนึ่งตัว เพราะว่าตัวที่เสียเชิงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆจะสู้ไม่ได้ ก็เลยลายหัวลงไปให้คู่ต่อสู้ขี่ล็อคคอทับเอาก็กลายเป็นเสียเชิง นานๆเข้าก็ติดเป็นนิสัย หรือที่เรียกกันว่า "เสียไก่" ไก่ชนลูกหนุ่มเราเห็นแววว่าเก่ง เราไม่ควรทำการซ้อมหนัก ควรซ้อมเบาๆไปก่อน ถ้านำไปซ้อมหนัก มันก็จะเสียไก่หรือเรียกว่าถอดใจไม่คิดสู้
การซ้อมไก่ชนถี่มากเกินไป การซ้อมไก่ชนถ้าซ้อมพอดี ก็จะเป็นประโยชน์ต่อไก่ของท่าน แต่ถ้าการซ้อมนั้นมีมากเกินไปจะไม่ดีและยังจะมีโทษต่อไก่ชนอีกต่างหาก การซ้อมไก่ชนถี่ๆและมากเกินไป จะทำให้ไก่ชนของท่านอ่อนแอและไม่มีความสมบูรณ์ เมื่อนำซ้อมครั้งต่อไป จะทำให้ไก่ชนของท่านคิดแต่จะหนีการซ้อมแต่ละครั้งเราควรต้องดูความสมบูรณ์ของไก่ด้วย ถ้าไม่มีความสมบูรณ์จะทำให้ไก่ทรุดโทรมลงไปอีก เมื่อไก่ทรุดโทรมผู้เลี้ยไก่บางท่านอาจจะปล่อยปละละเลยกลายเป็นไก่หมดสภาพทันที ไก่ชนแต่ละตัวจะมีความดีในตัวมันเอง การเข้าชนมันถนัดไม่เหมือนกัน บางตัวเข้าชนลายหัวให้แต่กลับตีไม่ถูกบางตัวเตี้ยแต่เวลาเข้าชนกับตะกายเหมือนจะกินกระหม่อมเพราะความถนัดของมันแต่ละตัว และเชิงชนของมันไม่เหมือนกันนั้นเอง ไก่ชนที่ท่านนำไปซ้อมเมื่อสู้คู่ต่อสู่ไม่ไหวท่านต้องเลิกทำการซ้อมทันที ถ้าท่านปล่อยไว้จนมันทนไม่ไหวจะทำให้มันทรุดและเลี้ยงไม่ขึ้น และเมื่อทำการซ้อมไก่เสร็จท่านควรหายาแก้ซ้ำในให้ไก่กิน
 บริหารลำคอ
ไก่ชนเวลาเข้าชน ลำคอเป็นส่วนสำคัญในการต่อสู้ ต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา คอยหลอกล่อ หลบหลีก และจู่โจม และยังเป็นเป้าหมายในการโจมตีจากฝ่ายตรงข้าม ไก่ตัวใดที่มีลำคอไม่แข็งแกร่งมักจะเป็นโอกาสที่คู่ต่อสู้จะตีฝ่ายเดียวอันเป็นหนทางสู่ความพ่ายแพ้ การบริหารลำคอผู้ฝึกจะต้องนั่งลง เอามือซ้ายโอบรอบตัวไก่ให้แนบกับลำตัวมือขวาจับข้อต่อลำคอของไก่นวดเฟ้นลำคอตั้งแต่โคนคอขึ้นไปจนถึงหัว การนวดจะต้องนวดอย่างแผ่วเบา ต้องนวดขึ้นลงครั้งละ 20 - 30 หน ขณะที่นวดควรจับคอไก่โยกไปทางซ้ายทีขวาที ไปข้างหน้าและข้างหลัง สลับกันไปมา 20 - 30 ครั้งเพื่อให้คอไก่แข็งแรง เป็นการกระตุ้นลำคอเพื่อให้เกิดความต้านทานเวลาเข้าชน หรืออีกวิธีหนึ่งจับไก่ให้อยู่ระหว่างขาของผู้ฝึกให้ไก่หันหน้าไปทางเดียวกันกับผู้ฝึกใช้มือซ้ายโอบตัวไก่หรือจับที่ต้นคอหลวมๆมือขวาจับคอยืดและหดออกหลายๆครั้ง โยกไปทางซ้ายทีขวาทีหน้าหลังสลับกันไปมา 20 - 30 ครั้ง แรกๆบริหารลำคอ 6 - 8 ครั้งก็พอแล้วค่อยเพิ่มขึ้นเมื่อไก่เริ่มชิน และเริ่มนวดขยำให้แรงขึ้นกว่าเดิม แต่อย่าแรงเกินไปจนทำให้ไก่หายใจลำบาก
 การบริหารปีก
ปีกนอกจากจะใช้ในการกระพือแล้วยังช่วยในการพยุงตัวและเข้าชนอีกด้วย หลังจากลูบน้ำและบริหารลำคอเรียบร้อยแล้ว ทำการบริหารปีกโดยการโอบไก่เข้าหาตัว ใช้มือซ้ายจับที่โคนปีกพอหลวมๆมือขวาจับตรงกลางข้อต่อของปีก จากนั้นให้นวดเฟ้นบริเวณตั้งแต่โคนปีกเรื่อยขึ้นไปจนถึงข้อต่อและปลายปีก เฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อหนัง ทำทั้งสองปีกสลับกันไปมาประมาณ 10 - 15 นาที หรือสอดมือทั้งสองข้างเข้าใต้ปีกซ้ายขวาพร้อมกันโดยหงายมือจับข้อต่อของปีกไก่ทั้งสองข้างแล้วดึงออกจนสุดปลายปีกพร้อมกับยกให้ไก่ตีนสูงขึ้นพ้นพื้นดินหรือจะจับทีละปีกปละหิ้วดึงขึ้นให้สูงให้ตีนพ้นดินสลับกันไปมาข้างละประมาณ 10 ครั้ง
 บริหารขา
ทำโดยการบีบนวด ขยำ บริเวณกล้ามเนื้อที่ขาทั้งสองข้าง โดยนวดลูบลงเบาๆ ประมาณ 15 - 20 นาที เสร็จจากการนวดให้รวบขาทั้งสองข้างเข้าหากันยกขึ้นตรงๆบีบเข้าหากันสัก 2 - 3 ครั้ง จากนั้นพับตรงข้อต่อระหว่างแข้งขาเข้าหากันที่ละข้างโดยใช้นิ้วมือคั่นไว้ระหว่างกลางทำสลับกันทั้งสองขา นวดที่แข้ง นิ้วและดัดเบาๆ
 ฝึกวิ่งทางตรง
ถ้าอยากให้ไก่มีร่างกายแข็งแรงจะต้องปล่อยให้วิ่งและบินในตอนเช้าเป็นประจำ นำไก่ไปปล่อยไว้ในที่โล่งเริ่มจากยกตัวไก่สูงขึ้น จับตัวยกขึ้นยกลงอย่าให้เร็วหรือช้าเกินไป ไก่จะกางปีกพยุงตัวตามจังหวะที่ยกขึ้นลงเมื่อชินแล้วยกตัวไก่ขึ้นสูงๆปล่อยให้กางปีกบินถลาไปไกลๆ หรือยกตัวไก่ขึ้นกลางอากาศ ฝึกแรกๆ อย่าให้สูงนักการยกขึ้นลงควรได้จังหวะแล้วโยนขึ้นไปบนอากาศให้ไก่บินเองอีกวิธีหนึ่งก็คือ ให้ไก่ล่อจับใส่กระเป๋าล่อ ให้ไก่ฝึกตีเจ้าของไก่พาไก่ล่อวิ่งทางตรงทันทีที่เจ้าของไก่ออกวิ่งไก่ชนจะวิ่งตามใช้เวลาฝึกประมาณ 20 นาที
 ฝึกล่อเป้า
คือการฝึกให้ไก่ตีคู่ต่อสู้โดยที่คู่ต่อสู้ไม่โต้ตอบเพื่อให้ไก่ชนได้มีประสบการณ์ ได้ออกกำลังกาย ฝึกความคล่องตัว ฝึกนิสัย การไล่ตีคู่ต่อสู้รู้จักใช้ปากและสายตา ฝึกหลบหลีก เป็นการยั่วยุให้ไก่ดุ และได้ใจ การฝึกโดยวิธีนี้จะทำให้ไก่หลักไม่บอบช้ำ
 วิ่งวงล้อ
ไก่ชนบางตัวอาจยังไม่ชินกับการวิ่งวงล้อ ไก่อาจตกใจ การแก้ไขไม่ให้ไก่ตกใจนั้น ให้นำไก่ขี้ตกใจนั้นเข้าขังในวงล้อแล้วล็อกวงล้อให้อยู่นิ่งอย่าให้วงล้อหมุนเมื่อไก่คุ้นเคยกับวงล้อแล้วไม่มีอาการตกใจก็ปล่อยให้วงล้อวิ่งช้าๆก่อนจนกว่าไก่จะคุ้นเคยมากกว่านี้สำหรับไก่ที่ชินแล้วจะวิ่งในวงล้อเป็นชั่วโมง ท่านต้องผ่อนวงล้อให้วิ่งช้าๆก่อนไก่วิ่งวงล้อจะมีกล้ามขาที่แข็งแกร่งแต่ต้องลงนวมหรือซ้อมนวมด้วย
 การวิ่งสุ่ม
การวิ่งสุ่มเป็นเทคนิควิธีหนึ่งที่ใช้หลอกล่อไก่ให้ออกกำลัง โดยเฉพาะตรงส่วนขา เป็นการฝึกระบบหายใจของไก่ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับไก่มากยิ่งขึ้น ที่เซียนไก่มักพูดกันว่า “ทำให้ไก่ได้ใจ” การวิ่งสุ่มจะทำให้ไก่ดุ โกรธ อยากตีไก่มากขึ้น โดยใช้ไก่ในสุ่มเป็นตัวล่อให้วิ่งเลาะในสุ่ม และให้ไก่ตัวที่อยู่ด้านนอกหรือตัวที่เราเลี้ยงวิ่งไล่เลาะรอบสุ่ม ไก่จะวิ่งเลาะสุ่มไปเรื่อยๆ ควรใช้สุ่มตาถี่ จับเวลาประมาณ 20 - 30 นาที
 บินหลุมหรือโดดกล่อง
ขุดบ่อลึกประมาณ 50-60 เซนติเมตรเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตรถ้าท่านไม่มีลานที่เป็นพื้นดินก็ทำเป็นกล่องไม้สูงประมาณ120 เซนติเมตร ใช้ผ้ากระสอบป่านกั้น 1 ด้านสูงเทียมอก ใส่ทรายลงไปที่ก้นหลุมหรือจะเป็นกระสอบปูแทนก็ได้เวลาฝึกจับไก่ลงไปให้ไก่บินขึ้นมาทำวันละ 100 - 200 ครั้งจะทำให้ไก่บินเก่งเป็นการฝึกกล้ามเนื้อขาและปีกไปในตัว
 การฝึกโยนเบาะ
เพื่อให้ไก่ได้ออกกำลังปีกกำลังขา จะทำให้ปีกแข็งแรง เดินดี ตีแม่น บินดี วิธีนี้ให้ฝึกกับไก่ที่ชอบแปะหน้าตี เกี่ยวหัวตี ตีเท้าบ่า จะได้ผลดี ส่วนไก่เชิงขี่ ล็อค ม้าล่อ วิ่งชน จะไม่ดี วิธีการฝึกให้ให้วางเบาะหรือฟูก เอาไว้ ผู้ฝึกนั่งบนเก้าอี้ หงายมือซ้ายในลักษณะแบมือพยุงหน้าอกไก่ไว้ มือขวาคว่ำจับตรงโคนหางไก่เอาไว้จังหวะแรกมือซ้ายดันหน้าอกไก่โยนขึ้นให้ลอยพร้อมมือขวากดหางไก่ไว้ไก่จะลอยตัวขึ้นพร้อมกางปีกพยุงตัวซอยขาเพื่อเตรียมยืด ทำเช่นนี้ต่อกันวันแรก 20 ครั้งวันต่อมาเพิ่มทีละ 10 จนถึง 100 ครั้งเมื่อเห็นว่าไก่ไม่เหนื่อยให้ฝึกวันละ 100 ครั้ง
หลังจากทำการฝึกซ้อมไก่แล้วก็ควรให้ไก่ได้พักผ่อน การพักผ่อนเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับไก่ กล้ามเนื้อ ประสาททุกส่วนต้องการที่จะพักผ่อน เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวเพราะถ้ากล้ามเนื้อไก่ฉีก เราจะไม่มีวันรู้เลยเพราะไก่พูดไม่ได้ ช่วงพักผ่อนควรให้ไก่อยู่เฉยๆอย่าให้ไก่ออกกำลังกายเป็นอันขาดช่วงนี้อย่าให้ไก่เครียด อย่าเสียงดังจะทำให้ไก่ตกใจการฝึกซ้อมไก่ควรทำตารางการฝึกไว้ด้วยจะเป็นการดีมาก
 เลือดลงแข้ง
เป็นอาการที่เกิดจากการซ้ำบวมของขาไก่ ไม่ใช่โรคร้ายที่จะทำให้ไก่ถึงกับตายอย่างเฉียบพลันแต่อาจจะทำให้ถึงกับพิการได้เหมือนกันหากมีความรุนแรงมากจึงควรรีบรักษาเสียแต่เนิ่นๆ
 สาเหตุ เกิดจากการสมบุกสมบันมากจนเกินไปในการใช้ขาอย่างไม่รู้จักบันยะบันยังของไก่เอง หรืออาจจะเกิดจากความบกพร่องของคนเลี้ยงที่อาจจะมีการออกกำลังกายหรือหักโหมให้ไก่ใช้ขามากจนเกินไป อันนี้ก็สามารถที่จะทำให้เกิดเลือดลงแข้งได้เหมือนกัน
 อาการ บริเวณแข้งหรือขาของไก่จะมีการบวม สัมผัสดูจะรู้สึกได้ถึงความนิ่มของแข้งอย่างชัดเจน ประกอบกับมองดูก็จะเห็นถึง ลักษณะของแข้งรวมไปจนถึงเกล็ดมีอาการช้ำ จนเกล็ดมีสีแดงอมเลือดเลยทีเดียว
 การป้องกัน เพียงแต่การออกกำลังกายให้ระวังในเรื่องนี้ และคอยควบคุมป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเลือดลงแข้ง วิธีการนี้จะถือว่าดีที่สุด เพราะเลือดลงแข้งจะเป็นอาการของการช้ำลำแข้ง หรือที่เรียกกันว่ารองช้ำในไก่ก็ได้
 รักษาพยาบาล
 ขั้นที่ 1 ใช้น้ำอุ่นประคบเพื่อให้มีการคลายของกล้ามเนื้อเสียก่อน หลังจากนั้นรอให้แข้งเย็น
สักหน่อย แล้วใช้น้ำเย็นประคบตามทุกครั้ง ภายหลังจากการประคบด้วยน้ำอุ่น
 ขั้นที่ 2 ทาน้ำมันมวยหรือครีมอะไรก็ได้ที่ทาแล้วแก้อาการช้ำบวมได้ และนวดเบาๆบริเวณ
ที่ช้ำบวม
 ข้อควรระวัง
 ห้ามทำการนวดแรงๆโดยเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้เกิดอักเสบ ช้ำบวมมากยิ่งขึ้น เสร็จแล้ว
ก็ต้องระวังให้ไก่อยู่อย่างสงบ อย่าให้ไก่ใช้กำลังขามากจนเกินไป เดี๋ยวจะเกิดการช้ำบวมขึ้นมาอีก พยายาม
ปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งคัดอาการก็จะทุเลาและหายไปในทีสุด
 อาการเลือดลงแข้งสำหรับในไก่ที่เคยเป็นมาแล้ว อาการนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ใหม่ในทุกเวลา 
หากเกิดมีการหักโหมอีก จึงควรระวังให้มากเลยทีเดียว

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น